แผนปฏิบัติการป้องกัน การทุจริตประจำปี
แผนปฏิบัติการ
โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
คำนำ
แผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ในกรอบแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ มุ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนแม่บทบูรณาการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมีแนวทางหลักในการดำเนินงาน 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึก
ให้มีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต 2) ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และ 3) ปราบปรามการทุจริต
แผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 บทนำ นำเสนอ สภาพการณ์ทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย ข้อมูลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา รวมถึงการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ (ITA Online) ส่วนที่ 2 นำเสนอ บริบทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 แผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมสำคัญของโครงการ ที่มีความเชื่อมโยงกับแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ดังนี้
- 1. การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต
๒. การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education)
๓. การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาแบบออนไลน์
ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนสำเร็จเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึกให้มีวัฒนธรรม
และพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
สารบัญ
หน้า
ส่วนที่ 1 บทนำ |
1 |
สภาพการณ์ทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย |
1 |
ข้อมูลของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ |
4 |
การดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ของโรงเรียน เนินขามรัฐประชานุเคราะห์ |
|
การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของโรงเรียนเนินขาม รัฐประชานุเคราะห์ (Integrity and Transparency Assessment Online : ITA Online) |
|
ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา |
|
การนำผลการประเมิน ITA ไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน |
|
แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล |
|
ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้อง |
|
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี |
|
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ |
|
เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ |
|
แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ |
|
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) |
|
โมเดลประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (Thailand 4.0) |
|
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
|
ส่วนที่ 3 แผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
|
แผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
|
แบบสรุปโครงการ/กิจกรรมแผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
|
ส่วนที่ 1
บทนำ
สภาพการณ์ทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย
ปัจจุบัน ปัญหาการคอร์รัปชันถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งปัญหานี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป อีกทั้งยังทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ความทันสมัย มีระบบการบริหารราชการสมัยใหม่ มีการรณรงค์จากองค์กรของรัฐ หรือองค์กรอิสระต่างๆ เห็นพ้องกันว่า การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่นำไปสู่ความยากจน และเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญ
ลำดับต้นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาช้านานจนฝังรากลึกและ
พบเกือบทุกกลุ่มอาชีพในสังคมไทย เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนานหรือกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของวัฒนธรรมไทยไปแล้ว
สาเหตุของปัญหาที่พบ คือ การทุจริตคอร์รัปชันเป็นประเพณีนิยมที่ปฏิบัติมาตั้งแต่ดั้งเดิมและมีอิทธิพลต่อความคิดของคนในปัจจุบันอยู่ค่อนข้างมาก ฉะนั้น พฤติกรรมการปฏิบัติของข้าราชการจึงไม่สอดคล้องกับแนวความคิดของการเป็นข้าราชการสมัยใหม่ การทุจริตคอรัปชันของข้าราชการด้วยความไม่รู้หรือด้วยความบริสุทธิ์ใจ จึงยังคงปรากฎอยู่ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ การทุจริตคอร์รัปชันของข้าราชการอยู่ที่ตัวข้าราชการ ปัญหาที่เกิดจากความคิด ความไม่มีประสิทธิภาพของตัวระบบ และปัญหาของตัวข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ สวัสดิการ จริยธรรมในการทำงานความคาดหวังและโอกาสในชีวิตของตัวข้าราชการ การบริหารราชการแผ่นดินเป็นสาเหตุ
ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการเกิดคอร์รัปชันในวงราชการ อันนำไปสู่การสูญเสียเงินรายได้ของรัฐบาล
ความไม่เสมอภาคในการให้บริการของข้าราชการแก่ผู้ติดต่อ ประชาชนผู้เสียภาษีไม่ได้รับบริการที่มีคุณภาพ
จากการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ปี 2557 และปี 2558 ประเทศไทยได้คะแนนการประเมิน 38 คะแนน ในปี 2559 ประเทศไทยได้คะแนนการประเมิน 35 คะแนน
ในปี 2560 ประเทศไทยได้คะแนนการประเมิน 37 คะแนน และในปี 2561 ประเทศไทยได้คะแนนการประเมินลดลง เหลือ 36 คะแนน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีการทุจริตคอร์รัปชันอยู่ในระดับสูงซึ่งสมควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(สำนักงาน ป.ป.ช.) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ.2560 - 2564) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า“ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) และกำหนดพันธกิจ“สร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทุกภาคส่วนแบบบูรณาการและปฏิรูปกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งระบบ ให้มีมาตรฐานสากล” พร้อมทั้งกำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ว่า “ระดับคะแนนของดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) สูงกว่าร้อยละ 50” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสังคมที่มีพฤติกรรมร่วมต้านการทุจริตในวงกว้าง และมีปัจจัยความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ คือ ทุกภาคส่วนร่วมส่งเสริมการกล่อมเกลาทางสังคมและส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัย รวมถึงผนึกกำลังและความร่วมมือทุกภาคส่วนในการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่สังคมที่มีค่านิยมร่วมต้านทุจริต และมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ สร้างนวัตกรรมในการต่อต้าน
การทุจริต มีกลไกป้องกันการทุจริตและระบบบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีปัจจัยความสำเร็จ คือ
มีกระบวนการทำงานด้านป้องกันการทุจริตเปลี่ยนแปลงสู่การทำงานเชิงรุก สามารถป้องกันการทุจริตได้อย่างเท่าทันและมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการการทำงานระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เด็กและเยาวชน ทั้งนี้ มีความเชื่อมโยงกับ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อ
การทุจริต โดยดำเนินการผ่านกลยุทธ์การปรับฐานความคิดทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัยให้สามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม
เพื่อต้านทุจริต พร้อมทั้งเสริมพลังการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Civic Participation) และบูรณาการทุกภาคส่วน
เพื่อต่อต้านการทุจริต และมีความเชื่อมโยงกับ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก โดยดำเนินการผ่านกลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดปัญหาการทุจริต อีกทั้งพัฒนา วิเคราะห์และบูรณาการระบบการประเมินด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเชื่อมโยงกับแนวทางการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้เรื่องการทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทย
นอกจากนี้ ทิศทางการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 ยังมีความสอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ ซึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐาน
ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ถือเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่
ประเทศไทย 4.0 โดยกำหนดประเด็นการพัฒนา พร้อมทั้ง แผนงาน/โครงการสำคัญที่ต้องดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วง 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมของคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปลูกฝัง “คนไทยไม่โกง” และยุทธศาสตร์การป้องกันด้วยการเสริมสร้างสังคมธรรมาภิบาล ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกด้วย
ทั้งนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีแผนงานและโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ แผนงานที่ 5.9 การสร้างกลไก “ยับยั้ง” และ “สร้างความตระหนักรู้”เพื่อป้องกันการทุจริต ที่กล่าวถึงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล
ในสถานศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิด “โรงเรียนสุจริต” เพื่อสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อ
การเปลี่ยนแปลง ปลูกจิตสำนึก ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต ตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถานศึกษา ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) มาอย่างต่อเนื่องโดยดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อวางรากฐานการปลูกจิตสำนึก ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศชาติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต โดยเริ่มพัฒนาจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นโรงเรียนสุจริตต้นแบบ จำนวน 225 โรงเรียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน) และขยายเครือข่ายโรงเรียนสุจริตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จนครบทุกโรงเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
นอกจากนี้การดำเนินโครงการยังขยายผลให้ครอบคลุมถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้กิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการดำเนินงานตามภารกิจอย่างโปร่งใส อีกทั้งยังมีการนำเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา (Integrity and Transparency Assessment: ITA) มาขยายผลเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสร้างกลไกและกระบวนการป้องกันการทุจริตให้มีความเข้มแข็งและเท่าทันต่อสถานการณ์การทุจริต สอดคล้องแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติฯ ไปสู่การปฏิบัติโดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้ยึดกรอบยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนแม่บทบูรณาการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564)
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึกให้มีวัฒนธรรม และพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อมูลของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
- ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ให้
สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของท้องถิ่น
- วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงาน ในเขตพื้นที่
การศึกษา และแจ้งจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบและกำกับตรวจสอบ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริมสนับสนุน
การจัดการศึกษา และพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
- จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นทีจัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
- ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษา
- ประสานส่งเสริมการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
- ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใด
โดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมด ดาวน์โหลด panponkuntutjarit_65