แผนปฏิบัติการป้องกัน การทุจริตประจำปี
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตของสถานศึกษา
ประจำปีงบประมาณ 2567
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐากระทรวงศึกษาธิการ
คำนำ
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดำเนินการภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) และเป็นไปตามแนวทางการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิง ยุทธศาสตร์ ประเด็นการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ว่าด้วยการปราบปรามการทุจริตสถานศึกษา 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ให้สถานศึกษาบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้าง ความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพครู บุคลากร ทางการศึกษา นักเรียน ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสถานศึกษา
ขอขอบพระคุณหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ป้องกันการทุจริต โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 256ึ7 จนสำเร็จ เพื่อเป็นกรอบทิศทางในดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายสำคัญ อันจะส่งผลให้การทุจริตในการปฏิบัติราชการลดน้อยลง
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
ประกาศโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
เรื่อง การใช้แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
……………………………….
ตามที่โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ได้ประกาศใช้แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ พุทธศักราช ๒๕๖๕ โดยเริ่มใช้แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้ สอดคล้องรับกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และถือเป็นแนวปฏิบัติตลอดจนได้ให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน วัด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและ ภายนอก ได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ จึงประกาศให้ใช้แผนปฏิบัติการ ป้องกันการทุจริตโรงเรียนตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
( นายจรูญ จินดารัตน์ ) ( นางเจนจิรา ชมกุล )
ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำนวยการโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
วิสัยทัศน์
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์เป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพ บุคลากรเป็นครูมืออาชีพ นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน บนพื้นฐานความเป็นไทยและความพอเพียง
โดย ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก ร่วมมือร่วมใจ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตทุกรูปแบบ
พันธกิจ
- 1. บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
- 2. พัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
- 3. พัฒนาบุคลากรเป็นครูมืออาชีพ
- 4. พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน รักความเป็นไทยและดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
เป้าประสงค์
- 1. มีระบบบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
- 2. บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม สื่อ นวัตกรรม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเอื้อต่อการเรียนรู้
- 3. บุคลากรเป็นครูมืออาชีพ
- 4. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ รักความเป็นไทยและดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง มีคุณภาพตามมาตรฐาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานของส่วนราชการภายในสถานศึกษาให้มี ความโปร่งใส
และเป็นธรรม
- เพื่อส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และ
รับผิดชอบต่อประชาชน
- เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษา ปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติ
- เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปราม
การทุจริต
ดาว์นโหลดเอกสารทั้งหมดได้ที่นี่ แผนปฎิบัติการป้องกันการทุจริต
- รายละเอียด
- เขียนโดย: admin
- หมวด: ข้อมูลความโปร่งใส
- ฮิต: 1246
การเสริมสร้างวัฒนธรรม องค์กร
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ได้กำาหนดวัฒนธรรมองค์กร คอ สภาพอ่อนน้อม ยิ้มไหวทักทายกันบนพื้นฐาน วิถีไทย ค่านิยมองค์กร คือ RS.B. ( R : Resposibility = ความรับผิดชอบต่อสังคม S : Success = ความส าเร็จ และB : Belive =ความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการ) นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อเปิดกว้างในการรับความคิดเห็นของบุคลากรเพื่อน ามาปรับปรุง และพัฒนาองค์กร มีการนิเทศจากหัวหน้าฝ่ายงาน ให้ขวัญและก าลังใจแกบุคลากรอย่างสมาเสมอ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร ส่งเสริมพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถ และปฏิบัติตาม จรรยาบรรณวิชาชีพครูตลอดจนเชิญบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และชุมชนใน ท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการด าเนินงาน
โดยมีการทบทวนความเหมาะสม และความต้องการตามที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน
รูปแบบของวัฒนธรรมองค์กร
โรงเรียนได้มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการค่านิยมที่ดีงาม และก าหนดสู่คนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืน สอดคล้องกบวิสัยทัศน์ พันธกิจ เปาประสงค์ของโรงเรียน โดยมีการส่งเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยการ สื่อสารในวงกว้างส่งผลให้เกิดการด าเนินงานที่ดีต่อเนื่องบุคลากรมีความผูกพันกับโรงเรียนและทำให้เกิดการร่วมมือในการปฏิบัติอย่างมประสิทธิภาพ วัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนถ่ายทอดและถือปฏิบัติกันมา ได้แก่
- การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยก าหนดการประชุมประจ าเดือนเพื่อรับฟังความคิดเห็น และขอเสนอแนะใน การดำเนินงานต่างๆเพื่อนำมาสู่การพัฒนาโรงเรียน
- การสื่อสารที่เป็นรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการเช่น การสร้าง Line Group ของโรงเรียนเพื่อส่ง ข่าว เปิดโอกาสในการสื่อสาร แสดงความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนใหม่ประสิทธิภาพ รวดเร็ว
- ผู้บังคับบัญชารับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยกัลยาณมิตร
- ทำงานแบบพี่สอนน้อง
- อัตลักษณ์ของครูโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
- มีความรับผิดชอบ และเป็นผู้นำที่ดีที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้นำ
- สภาพอ่อนน้อม การยิ้มไหวทักทายกันระหว่างบุคลากรทั้งครู และนักเรียน
- ธรรมเนียมปฏิบัติของบุคลากรโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
- แต่งกายชุดเครื่องแบข้าราชการทุกวันจันทร์
- แต่งกายชุดผ้าไทยหรือชุดประจำท้องถิ่นทุกวันศุกร์
- แต่งกายชุดกีฬาทุกวันพุธ
- แต่งกายชุดลูกเสือทุกวันอังคาร
- แต่งกายสภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับความเป็นครูและกาลเทศะ
- ระบบอาวุโส น้องทำความเคารพและศรัทธาพี่
- การเยี่ยมเยือนบุคลากรกรณีเจ็บป่วย การร่วมงานต่าง ๆ ของครอบครัวบุคลากร
- การทำบุญตักบาตรทุกวันพระ
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
กิจกรรมหน้าเสาธง
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานีชัยนาท
- รายละเอียด
- เขียนโดย: admin
- หมวด: ข้อมูลความโปร่งใส
- ฮิต: 788
การดำเนินการเพื่อจัดการ ความเสี่ยงการทุจริต
รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
ที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 256ุ7
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท
สำนักนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำนำ
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิด ผลประโยชน์ทับซ้อน โดยวิเคราะห์ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ตาม มาตรฐาน COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission) เพื่อก าหนดมาตรการส าคัญเร่งด่วน เชิงรุกในการป้องกันการทุจริต การบริหารงาน ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อย นอกจากนี้ ยังน าความ เสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่ได้นี้มาก าหนดเป็นคู่มือป้องกันผลประโยชน์ทับ ซ้อน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอีกด้วย เพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2566 – 2570)
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
พฤษภาคม ๒๕๖๗
สารบัญ หน้า
คำนำ
สารบัญ ส่วนที่ 1 บทนา
หลักการและเหตุผล 4
วัตถุประสงค์
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านผลประโยชน์ทับซ้อน
การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านผลประโยชน์ทับซ้อน (Risk Assessment for Conflict of Interest) 7
การวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน 9
การดดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิด
ผลประโยชน์ทับซ้อน ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๕ 11
แนวทางการป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิด
ผลประโยชน์ทับซ้อน
แผนจัดการความเสี่ยงป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน 14
ส่วนที่ 3 ผลการจัดการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านผลประโยชน์ทับซ้อน 17
ปัญหาและอุปสรรคของการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านผลประโยชน์ทับซ้อน
แนวทางปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงด้านผลประโยชน์ทับซ้อน
ภาคผนวก 19
คำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการเคราะห์ความเสี่ยงด้านผลประโยชน์ทับซ้อน
ส่วนที่ 1 |
|
บทนำ |
- หลักการและเหตุผล
การมีผลประโยชน์ทับซ้อนถือเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นประเภทหนึ่ง เพราะเป็นการแสวงหา ประโยชน์ส่วนบุคคลโดยการละเมิดต่อกฎหมายหรือจริยธรรมด้วยการใช้อ านาจในต าแหน่งหน้าที่ไปแทรกแซง การใช้ ดุลยพินิจในกระบวนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนท าให้เกิดการละทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ ขาดความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง และความเป็นธรรม จนส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะของส่วนรวม และท า ให้ผลประโยชน์หลักขององค์กร หน่วยงาน สถาบันและสังคมต้องสูญเสียไป โดยผลประโยชน์ที่สูญเสียไปอาจอยู่ในรูป ของผลประโยชน์ทางการเงิน คุณภาพการให้บริการ ความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงคุณค่าอื่น ๆ ตลอดจนโอกาส ในอนาคตตั้งแต่ระดับองค์กรจนถึงระดับสังคม อย่างไรก็ตามท่ามกลางผู้ที่จงใจกระท าความผิด ยังพบผู้กระท า ความผิดโดยไม่เจตนาหรือไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวอีกเป็นจ านวนมาก จนน าไปสู่การถูกกล่าวหาร้องเรียนเรื่องทุจริต หรือถูกลงโทษทางอาญา ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ ส่วนรวม (Conflict of interest : COI) เป็นประเด็นปัญหาทางการบริหารภาครัฐในปัจจุบันที่เป็นบ่อเกิดของปัญหา การทุจริตประพฤติมิชอบในระดับที่รุนแรงขึ้น และยังสะท้อนปัญหาการขาดหลักธรรมาภิบาลและเป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาประเทศ อีกด้วย
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ด าเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจ เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนตามมาตรฐาน COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission) เป็นกรอบการ วิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ ทับซ้อน
การวิเคราะห์ความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นระบบในการบริหารปัจจัย
และควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อลดมูลเหตุของโอกาสที่จะท าให้เกิดความเสียหายจาก การปฏิบัติงานที่อาจเกิด ผลประโยชน์ทับซ้อน
ประเภทของความเสี่ยง แบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ดังนี้
- ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk: S) หมายถึง ความเสี่ยงเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมาย
และพันธกิจในภาพรวมที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเหตุการณ์ภายนอกที่ส่งผลต่อ กลยุทธ์ที่ก าหนดไว้ และการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ไม่เหมาะสม รวมถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบาย เป้าหมายกลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร ภาวการณ์แข่งขัน ทรัพยากรและสภาพแวดล้อม อันส่งผลกระทบ ต่อวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร
- ความเสี่ยงด้านการด าเนินงาน (Operational Risk: O)เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพประสิทธิผล
หรือผลการปฏิบัติงาน โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงเนื่องจากระบบงานภายในขององค์กร/กระบวนการเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ใช้/บุคลากร/ความเพียงพอของข้อมูล ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการด าเนิน โครงการ
- ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk: F)เป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
และการเงิน เช่น การบริหารการเงินที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ท าให้ขาดประสิทธิภาพ และไม่ทันต่อสถานการณ์ หรือ เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเงินขององค์การ เช่นการประมาณการงบประมาณไม่เพียงพอ และ ไม่สอดคล้องกับ ขั้นตอนการด าเนินการ เป็นต้น เนื่องจากขาดการจัดหาข้อมูล การวิเคราะห์ การวางแผน การควบคุม และการจัดท า รายงานเพื่อน ามาใช้ในการบริหารงบประมาณ และการเงินดังกล่าว
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk: C) เกี่ยวข้องกับการ
ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยง เนื่องจากความไม่ชัดเจน ความไม่ทันสมัยหรือ ความไม่ครอบคลุมของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ รวมถึงการท านิติกรรมสัญญา การร่างสัญญา ที่ไม่ครอบคลุมการด าเนินงาน
สาเหตุของการเกิดความเสี่ยงอาจเกิดจากปัจจัยหลัก๒ปัจจัยคือ
- ปัจจัยภายใน เช่น นโยบายของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ จริยธรรม คุณภาพของบุคลากร และการ เปลี่ยนแปลงระบบงานความเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บ่อยครั้ง การควบคุม ก ากับดูแลไม่ทั่วถึง และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงาน เป็นต้น
- ปัจจัยภายนอก เช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ การเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยี หรือ สภาพการแข่งขัน สภาวะแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น
ผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึง สภาวการณ์ หรือข้อเท็จจริงที่บุคคล ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง
ข้าราชการ พนักงานบริษัท หรือผู้บริหารซึ่งมีอ านาจหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในต าแหน่งหน้าที่ ที่บุคคล นั้นรับผิดชอบอยู่ และส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งการกระท านั้นอาจจะเกิดขึ้นอย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ทั้งเจตนาและไม่เจตนา และมีรูปแบบที่หลากหลายไม่จ ากัดอยู่ในรูปของตัวเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึง ผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ในรูปตัวเงินหรือทรัพย์สินก็ได้ อาทิ การแต่งตั้งพรรคพวกเข้าไปด ารงต าแหน่งในองค์กรต่างๆ ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทจ ากัดหรือการที่บุคคลผู้มีอ านาจหน้าที่ตัดสินใจให้ญาติพี่น้องหรือ บริษัทที่ตนมีส่วนได้ส่วนเสียได้รับสัมปทานหรือผลประโยชน์ จากทางราชการโดยมิชอบ ส่งผลให้บุคคลนั้นขาดการ ตัดสินใจที่เที่ยงธรรม เนื่องจากยึดผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ผลเสีย จึงเกิดขึ้นกับประเทศชาติ การกระท าแบบนี้ เป็นการกระท าที่ผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน จึงหมายถึง กระบวนการวิเคราะห์
ความเสี่ยงที่เป็นระบบในการบริหารปัจจัยและควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อลดมูลเหตุของโอกาส ที่จะท าให้เกิด ความเสียหายจากการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นส าคัญ อันเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการทุจริต กล่าวคือ ยิ่งมีสถานการณ์หรือ สภาวการณ์ของการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม มากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสก่อให้เกิดหรือ
- าไปสู่การทุจริตมากเท่านั้นการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นเรื่องที่มีความส าคัญดังกล่าวข้างต้น ในเกณฑ์การประเมิน ความโปร่งใสในการด าเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) จึงได้มีการประเมินในด้านการต่อต้านการทุริตในองค์กร เกี่ยวกับการด าเนินงาน เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน โดยมีการประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based) ให้มีการด าเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อก าหนด มาตรการส าคัญในการป้องกันการทุจริต การบริหารงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ การแก้ไขปัญหาการกระท าผิด วินัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นปัญหาส าคัญและพบบ่อย นอกจากนี้ยังน าความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิด ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ได้นี้มาก าหนดเป็นคู่มือป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ของส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๕ อีกด้วย
- วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้าง สืบทอดวัฒนธรรมสุจริต และแสดงเจตจ านงสุจริตในการบริหารราชการให้เกิด ความคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
- เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการบริหารราชการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
- เพื่อตรวจสอบการบริหารงานและการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ให้เกิดการแสวงหา ผลประโยชน์ส่วนตัวในต าแหน่งหน้าที่อันมิควรได้โดยชอบตามกฎหมาย ให้ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่าง ที่ดียืนหยัดท าในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม ถูกกฎหมาย โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาต่อการบริหารราชการแผ่นดินแก่ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชน
ดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมด รายงานการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยง
- รายละเอียด
- เขียนโดย: admin
- หมวด: ข้อมูลความโปร่งใส
- ฮิต: 888
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
โรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ ดําเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ ทับซ้อนโดยวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนตาม
มาตรฐาน COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission)
เป็นกรอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน
การวิเคราะห์ความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นระบบในการ
บริหารปัจจัยและควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อลดมูลเหตุของโอกาสที่จะทําให้เกิดความเสียหายจากการ
ปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
ประเภทของความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
- ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์(Strategic Risk: S) หมายถึง ความเสี่ยงเกี่ยวกับการบรรลุ เป้าหมายและพันธกิจในภาพรวมที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเหตุการณ์ภายนอกที่ส่งผลต่อกลยุทธ์ที่กําหนดไว้และการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ไม่เหมาะสมรวมถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบาย เป้าหมายกลยุทธ์โครงสร้างองค์กรภาวการณ์แข่งขันทรัพยากรและสภาพแวดล้อมอันส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร
- ความเสี่ยงด้านการดําเนินงาน (Operational Risk: O) เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลหรือผลการปฏิบัติงานโดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงเนื่องจากระบบงานภายในของ
องค์กร/กระบวนการเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้/บุคลากร/ความเพียงพอของข้อมูลส่งผลต่อประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลในการด าเนินโครงการ
- ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk: F) เป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับการบริหาร
งบประมาณและการเงินเช่นการบริหารการเงินที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมทําให้ขาดประสิทธิภาพและไม่ทันต่อ
สถานการณ์หรือเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเงินขององค์การเช่นการประมาณการงบประมาณไม่เพียงพอ
และไม่สอดคล้องกับขั้นตอนการดําเนินการเป็นต้นเนื่องจากขาดการจัดหาข้อมูลการวิเคราะห์การวางแผนการ
ควบคุมและการจัดทํารายงานเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงบประมาณและการเงินดังกล่าว
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk: C) เกี่ยวข้อง
กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงเนื่องจากความไม่ชัดเจนความ
ไม่ทันสมัยหรือความไม่ครอบคลุมของกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการทํานิติกรรมสัญญาการ
ร่างสัญญาที่ไม่ครอบคลุมการดําเนินงาน
ดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดได้ที่นี่ ดาวน์โหลด kanpramernkaumsaing
- รายละเอียด
- เขียนโดย: admin
- หมวด: ข้อมูลความโปร่งใส
- ฮิต: 1052
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
1. กิจกรรมการต้อนรับคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตาม ของคณะกรรมการ กตปน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท ปีการศึกษา 2566
2. กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์
- รายละเอียด
- เขียนโดย: admin
- หมวด: ข้อมูลความโปร่งใส
- ฮิต: 3644